ข้อมูลพื้นฐาน
โรงเรียนวรราชาทินัดดามาตุวิทยา
ชื่อโรงเรียน
โรงเรียนวรราชาทินัดดามาตุวิทยา
แปลว่า โรงเรียนแม่ของหลานองค์แรกของพระเจ้าแผ่นดินผู้ประเสริฐ เป็นโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติ
ประกาศจัดตั้งโรงเรียน
18 กุมภาพันธ์ 2536
วันสถาปนาโรงเรียน
4 เมษายน 2538
ผู้ก่อตั้งโรงเรียน
พระครูรัตนกาสุมาภิรักษ์ (แฉล้ม อาจิณโณ)
สถานที่ตั้ง เลขที่ 59 หมู่ 2 ตำบลคลองพระอุดม อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี 12140
ที่ดิน เดิมมีที่ดิน 6 ไร่ 2 งาน 70 ตารางวา ได้รับบริจาคที่ดิน จาก นายลพชัย - นางปทุมมาศ แก่นรัตนะ
จำนวน 12 ไร่ 3 งาน 74 ตารางวา รวมที่ดิน 19 ไร่ 2 งาน 44 ตารางวา
อาคาร
ฝ่ายมัธยม อาคารเรียน 213 ล (ปรับปรุง 29) /36 1 หลัง โรงฝึกงาน ฝง.102/27 1 หลัง
บ้านพักครู 205 / 26 2 หลัง บ้านพักภารโรง แบบ / 32 1 หลัง
ส้วม 3 หลัง อาคารโรงอาหาร 1 หลัง
อาคารเรียนแบบ สปช. 2/28 4 ชั้น ใต้ถุนโล่ง จำนวน 18 ห้อง 1 หลัง
อาคารเรียนชั่วคราว จำนวน 4 ห้องเรียน 2 หลัง บ้านพักครู /27 1 หลัง
ฝ่ายประถม
อาคารเรียนแบบ ป 1 ข 3 หลัง โรงฝึกงาน 1 หลัง
ส้วม แบบ 601/26 1 หลัง ส้วมแบบองค์การ 1 หลัง
โรงอาหาร 1 หลัง
ทำเนียบผู้บริหารโรงเรียนวรราชาทินัดดามาตุวิทยา
- นายพิชญ์ สุขเจริญ อาจารย์ใหญ่ พ.ศ. 2536 – 2542
- นายพิชยนันท์ สารพานิช อาจารย์ใหญ่ พ.ศ. 2542 – 2543
- นายองค์อาจ ตรีชั้น อาจารย์ใหญ่ พ.ศ. 2543 – 2544
- นายสัมฤทธิ์ ไทยโพธิ์ศรี อาจารย์ใหญ่ พ.ศ. 2544 – 2545
- นายชัยชนะ ใจแก้ว ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2545 – 2554
- นายฐิติพันธ์ มณีณัฐนันท์ ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2554 – 2555
- นายไพฑูรย์ จารุสาร ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2555 - 2556
- นายเจริญ บัวลี ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2556 - ปัจจุบัน
เครื่องหมาย หรือสัญลักษณ์ประจำโรงเรียน
กรอบหน้านาง โรงเรียนเจ้าแห่งนางในรัชการที่ 9
สีประจำโรงเรียน สีขาบ (สีของชาติไทย ได้จากธงไตรรงค์รวมกัน คือ แดง ขาว น้ำเงิน จึงมีทั้งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ถือว่าเป็นสิ่งที่มีศิริมงคลยิ่งนัก)
อักษรย่อ วนม.
ว ย่อมาจาก วรราชา
น ย่อมาจาก ทินัดดามาตุ
ม ย่อมาจาก มาตุ
พระพุทธรูปประจำโรงเรียน
พระพุทธรูปปางลีลา
ต้นไม้ประจำโรงเรียน
ปาริชาติ ( Erythrina sp.)
ปรัชญา
ปัญญาย ปริสุฌุชติ หมายถึง คนบริสุทธิ์ได้ด้วยปัญญา
คำขวัญ
รักษ์ศักดิ์ศรี มีคุณธรรม นำวิชาการ สืบสานงานพระราชดำริ
พระดำรัส ของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุประทานให้กับนักเรียน เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 ความว่า
“ นักเรียนทั้งหลายไม่ควรที่จะลดละความเพียรพยายามที่จะขวนขวาย ศึกษาวิทยาการต่าง ๆ ให้แตกฉาน และกว้างขวางยิ่ง ๆ ขึ้นไป เพื่อว่าจะได้เป็นผู้เพียบพูนด้วยวิชาความรู้ คุณธรรม และสติปัญญา ”