ประวัติก่อตั้ง
ด้วยแผนพัฒนาการศึกษาฉบับที่ 7 ของกระทรวงศึกษาธิการ มีนโยบายขยายโอกาสทางการศึกษาไปยังตำบลในถิ่นทุรกันดารหรือคนกลุ่มน้อยซึ่งด้อยโอกาสทางการศึกษา เพื่อให้นักเรียนที่จะจบการศึกษาในระดับประถมศึกษาปีที่ 6 ได้ศึกษาต่อระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ในโรงเรียนของกรมสามัญศึกษา และศึกษาต่อระดับประถมศึกษาปีที่ 7-9 ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาของสำนักงานการประถมศึกษาแห่งชาติ
ในส่วนของอำเภอลาดหลุมแก้ว คณะกรรมการการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมได้สนองนโยบายดังกล่าวของรัฐบาล โดยนายอำเภอลาดหลุมแก้ว นายเบญจ พึ่งเก็บ ศึกษาธิการอำเภอลาดหลุมแก้ว ว่าที่ร้อยตรีมานิตย์ ป้อมสุข ผู้อำนวยการสามัญศึกษาจังหวัดปทุมธานี นายสมบัติ ศรีสังข์งาม ผู้อำนวยการโรงเรียนบัวแก้วเกษร เจ้าอาวาสวัดเจดีย์หอย เจ้าอาวาสวัดทองสะอาด ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้นำท้องถิ่น ได้ร่วมประชุมกันและมีมติให้เปิดโรงเรียนสาขาของโรงเรียนบัวแก้วเกษร สาขาที่ 1 เรียกว่าสาขาวัดเจดีย์หอย มอบหมายให้นายวีระ นามศรี ทำหน้าที่เป็นผู้ดูแล และในปีการศึกษา 2535 มีมติให้เปิดโรงเรียนบัวแก้วเกษร สาขาที่ 2 ขึ้นที่วัดทองสะอาด ชื่อโรงเรียนมัธยมวัดทองสะอาด มอบให้นายพิชญ์ สุขเจริญ เป็นผู้ดูแล ภายใต้การสนับสนุนของพระครูรัตนกาสุมภิรักษ์ (แฉล้ม อาจิณโณ) ซึ่งเป็นที่เคารพของชุมชน จึงทำให้มีนักเรียนจากท้องถิ่นอำเภอลาดหลุมแก้ว อำเภอบางบัวทอง อำเภอปากเกร็ด และอำเภออื่นๆ มาเรียนกันมาก ด้วยเหตุผล 3 ประการ ดังนี้
- เป็นโรงเรียนที่ขยายโอกาสทางการศึกษา ไม่เก็บเงินบำรุงการศึกษา ได้รับการสนับสนุน เรื่องหนังสือ- สมุด เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย จากงบประมาณ และขอรับบริจาค
- เดินทางสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย เนื่องจากถนนและรถประจำทางไม่มี ทำให้โอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุมีน้อยมาก
- นักเรียนมีเวลาช่วยผู้ปกครองประกอบอาชีพควบคู่ไปด้วย
โรงเรียนมัธยมวัดทองสะอาด เริ่มมีการจัดการศึกษาเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2536 โดยใช้กุฏิและศาลาการเปรียญวัดทองสะอาดเป็นที่เรียนชั่วคราว ด้วยการสนับสนุนของพระครูรัตนกาสุมาภิรักษ์ (แฉล้ม อาจิณโณ) ในระยะแรกมีนักเรียนทั้งหมด 43 คน มีนายพิชญ์ สุขเจริญ เป็นครูใหญ่คนแรก ต่อมาได้สร้างอาคารแบบ 216 ล (ปรับปรุง 29) เป็นอาคารเรียนหลังแรกและปัจจุบัน จากนั้นโรงเรียนได้ขอประทานนามจากพระเจ้าวรรวงค์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ โดยประทานชื่อใหม่จากเดิม “โรงเรียนมัธยมวัดทองสะอาด” เป็น “ โรงเรียนวรราชาทินัดดามาตุวิทยา” เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2538 และทรงรับไว้ในพระอุปถัมภ์
เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2538 พระเจ้าวรวงค์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุเสด็จพร้อมด้วยพระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าพัชรกิตติยาภา ทรงเปิดป้ายโรงเรียนและทรงปลูกต้นปาริชาติเป็นต้นไม้ประจำโรงเรียน ยังความปลาบปลื้มแก่ประชาชนในท้องถิ่น ครู อาจารย์ และนักเรียนเป็นอย่างยิ่ง
วันที่ 28 มิถุนายน 2545 พระเจ้าวรวงค์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เสด็จทรงเยี่ยมชมนิทรรศการ การแสดงผลงาน และการพัฒนาโรงเรียน
ปี พ.ศ. 2546 ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารโรงอาหาร แบบ 300 ที่นั่ง จำนวน 1 หลัง ห้องน้ำนักเรียนจำนวน 1 หลัง
ปี พ.ศ. 2548 มีการประกาศสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานีเขต 1 เรื่องรวมสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้รวมสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 2 แห่งเข้าด้วยกัน คือโรงเรียนมัธยมวัดทองสะอาด (มงคลกวีราษฎร์บำรุง) และ โรงเรียนวรราชาทินัดดามาตุวิทยา โดยใช้ชื่อ “ โรงเรียนวรราชาทินัดดามาตุวิทยา ” ประกาศ ณ วันที่ 22 เมษายน 2548
ปี พ.ศ. 2551 โรงเรียนเริ่มเข้าสู่ระบบผู้นำการเปลี่ยนแปลง (SBM) โดยพัฒนางานทุกด้านให้มีความพร้อมในการบริหารด้วยตนเอง
ปี พ.ศ. 2552 ขับเคลื่อนนโยบายเรียนฟรี 15 ปี อย่างมีคุณภาพ โดยคำนึงถึงประโยชน์ของผู้เรียนและทางราชการสูงสุด เน้นประหยัด โปร่งใส ไม่เกิดปัญหา
ชื่อโรงเรียน โรงเรียนวรราชาทินัดดามาตุวิทยา
แปลว่า “โรงเรียนแม่ของหลานองค์แรกของพระเจ้าแผ่นดิน ผู้ประเสริฐเป็น โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติ”
ประกาศจัดตั้งโรงเรียน 8 กุมภาพันธ์ 2536
วันสถาปนาโรงเรียน 4 เมษายน2538
พระดำรัส ของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ
ประทานให้กับนักเรียน เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 ความว่า
“ นักเรียนทั้งหลายไม่ควรที่จะลดละความเพียรพยายามที่จะขวนขวาย ศึกษาวิทยาการต่าง ๆ ให้แตกฉาน และกว้างขวางยิ่ง ๆ ขึ้นไป เพื่อว่าจะได้เป็นผู้เพียบพูน
ด้วยวิชาความรู้ คุณธรรม และสติปัญญา ”
สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน
กรอบหน้านาง แสดงถึง “โรงเรียนเจ้าแห่งนางในรัชการที่ 9”
อักษรย่อ วนม
ว ย่อมาจาก วรราชา
น ย่อมาจาก ทินัดดามาตุ
ม ย่อมาจาก มาตุ
สถานที่ตั้ง เลขที่ 59 หมู่ 2 ตำบลคลองพระอุดม อำเภอลาดหลุมแก้ว
จังหวัดปทุมธานี12140
ผู้ก่อตั้งโรงเรียน พระครูรัตนกาสุมาภิรักษ์ (แฉล้ม อาจิณโณ)
ที่ดิน เดิมมีที่ดิน 6 ไร่ 2งาน 70 ตารางวา
ได้รับบริจาคที่ดิน จาก นายลพชัย - นางปทุมมาศ แก่นรัตนะจำนวน 12 ไร่ 3 งาน 74 ตารางวา รวมที่ดิน19 ไร่ 2 งาน44 ตารางวา
สีประจำโรงเรียน สีขาบ (สีของชาติไทย ได้จากธงไตรรงค์รวมกัน คือ แดง ขาว น้ำเงิน จึงมีทั้งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ถือว่าเป็นสิ่งที่มีศิริมงคลยิ่งนัก)
พระพุทธรูปประจำโรงเรียน พระพุทธรูปปางลีลา
ต้นไม้ประจำโรงเรียน ปาริชาติ ( Erythrina sp.)
ปรัชญา ปัญญาย ปริสุฌุชติ หมายถึง คนบริสุทธิ์ได้ด้วยปัญญา
คำขวัญ รักษ์ศักดิ์ศรี มีคุณธรรม นำวิชาการ สืบสานงานพระราชดำริ